กรดไหลย้อน

 

กรดไหลย้อน เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ สาเหตุเกิดมาจากพฤติกรรมการทานอาหารที่อาจจะรีบทานจนทำเคี้ยวไม่ละเอียด หรือรีบทานจนเกินไป หากปล่อยให้เกิดอาการเรื้อรังและรักษาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเกิดหลอดอาหารอักเสบ แผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ แม้โอกาสเกิดจะไม่มากนักก็ตาม

อาการของกรดไหลย้อน
ผู้ที่มีภาวะกรดไหลย้อนจะรู้สึกจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ ปวดแสบปวดร้อนบริเวณอกและมีอาการจุกเสียดแน่นคล้ายอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ เรอบ่อย  อาจมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาในปากและคอ ไปจนถึงกลืนอาหารได้ลำบาก ในบางรายที่เป็นเรื้อรังอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอเรื้อรัง รู้สึกระคายเคืองคอตลอดเวลา เสียงแหบแห้ง หรือฟันผุ

สาเหตุของกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอด ทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารจนสร้างความระคายเคืองกับผนังของหลอดอาหาร และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรือโรคบางชนิดมีส่วนกระตุ้นการทำงานของหลอดอาหารให้เกิดความผิดปกติได้ เช่น เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว เป็นโรคอ้วน อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

การรักษาอาการกรดไหลย้อนเบื้องต้น
การเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตอาจจะทำให้อาการกรดไหลย้อนดีขึ้นได้บ้าง เช่น ควบคุมน้ำหนัก รับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี หลังรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที ฯลฯ ซึ่งการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยในชีวิตประจำวันที่ไปกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้มากที่สุด รวมไปถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอาจช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะกรดไหลย้อนให้น้อยลงได้

แต่ถ้าในบางคนที่อาการรุนแรงทานยาลดกรดก็ไม่ดีขึ้นมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วยให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการักษาในลำดับถัดไป

ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน
ภาวะกรดไหลย้อนมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดได้สร้างความระคายเคืองแก่หลอดอาหารไปถึงอวัยวะบริเวณทางเดินหายใจ ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก รู้สึกเจ็บ หรือมีเลือดออกในหลอดอาหาร รวมทั้งอาจเกิดภาวะหลอดอาหารตีบตัน อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ไอเรื้อรัง อีกทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารอีกด้วย

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball