น้ำมันตับปลา

เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักและเคยได้ยิน น้ำมันตับปลา และ น้ำมันปลามา บ้าง และหลายคนคงจะได้เจอปัญหาสับสนระหว่างน้ำมันตับปลาและน้ำมันปลาอย่างแน่นอน บางคนอาจจะคิดว่าคือสิ่งเดียวกันด้วยซ้ำ แต่จริงๆ แล้วน้ำมันตับลาและน้ำมันปลานั้นไม่เหมือนกันกันเลย วันนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับความแตกต่างระหว่างน้ำมันตับปลาและต้ำมันปลาว่าต่างกันอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

น้ำมันตับปลา กับ น้ำมันปลา คืออะไร

น้ำมันตับปลา (cod liver oil)

น้ำมันตับปลาสกัดมาจากตับของปลาทะเล เช่น ปลาค็อด  และน้ำมันตับปลามีวิตามินดีและเอสูง ซึ่งวิตามินดีนั้นจะมีส่วนสำคัญในการช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารได้ดี ส่วนวิตามินมีส่วนช่วยในเรื่องของเยื่อบุผิวหนัง กระดูกและสร้างภูมิต้านทานโรค แถมยังบำรุงดวงตาสามารถมองเห็นได้ดีแม้ในที่มืดหรือแม้แต่พื้นที่ที่มีแสงสลัวก็ตาม  แต่ตับปลาเองแม้จะวิตามินสูงตับปลานั้นก็ตามมาด้วยคอเลสเตรอลสูงเช่นกัน ดังนั้นควรทานแต่พอดีนั่นเอง

น้ำมันปลา (fish oil)

น้ำมันปลานั้นจะต่างกับน้ำมันตับปลา เพราะน้ำมันปลาจะสกัดจากปลาทะเลน้ำลึกเช่นกัน แต่จะใช้ส่วนของเนื้อ หัว หนัง และหางของปลา เรียกได้ว่าใช้เกือบทุกส่วนของปลาเลยก็ว่าได้ ซึ่งน้ำมันปลาประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากมาย เช่น กรดไขมันโอเมก้า-3 จำนวนมาก ซึ่งที่เราคุ้นเคยน่าจะเป็นกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA (docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีประโยชน์ต่อหัวใจ และผิวพรรณ แต่นอกจากนี้ DHA ยังช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง มีความสําคัญต่อการสร้างสารสื่อเส้นประสาท ซึ่งมีผลต่อการทํางานหรือการสั่งงานของสมอง ร่างกายสามารถสร้าง DHA ขึ้นมาเองได้ โดยสร้างจากกรดแอลฟ่าลิโนเลนิก (alpha-linolenic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจําเป็น อย่างไรก็ตามปริมาณที่ร่างกายสร้างได้มีไม่มากนัก ซึ่งในทางสัตวแพทย์บอกว่ากรดไขมันที่สำคัญจะเป็นตัวที่ชื่อว่า Eicosapentaenoic acid หรือ  EPA ซึ่งเจ้า EPA นี้มีส่วนสำคัญมากในการช่วยลดการอักเสบได้ดีเยี่ยม ในกรณีของโรคไตพบว่า สามารถให้น้ำมันปลา เพื่อช่วยลดการอักเสบของไต โดยเฉพาะในรายที่พบโปรตีนหลุดรั่วออกมากับปัสสาวะ จะช่วยลดปริมาณโปรตีนที่รั่วออกมากับปัสสาวะได้อีกด้วยนะ แต่ก่อนที่จะซื้อน้ำมันปลามารับประทานเองต้องดูให้ดีนะว่าเป็นน้ำมันตับปลาหรือน้ำมันปลา เพราะหากซื้อมาทานผิดผลลัพธ์ที่ได้อาจจะตรงกันข้ามกับความต้องการก็ได้นั่นเอง แต่อย่างไรหากไม่มั่นใจว่าควรซื้อแบบไหนขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวจะดีที่สุดนั่นเอง

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

 

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball