ประเภทของนม

นมเป็นของกินยอดฮิตอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้บางครั้งเช้า ๆ เวลาเร่งรีบไม่รู้จะทานอะไรอย่างน้อยกินนมสักกล่องรองท้องก็คงดี แต่เวลาที่เรากินนมเราเลือกจากอะไรกันบ้าง บางคนอาจจะเลือกจากรสชาติที่ชอบ บางคนหยิบอันไหนได้ก็กินอันนั้น วันนี้จะพาทุกคนมารู้จัก ประเภทของนม ให้มากขึ้นและทุนคนจะหลงรักนมอย่างแน่นอน

ประเภทของนม และ ประโยชน์ของนม แต่ละประเภท

1.นมสด (Whole Milk)
นมที่นำมาบรรจุกล่องหรือขวดขายจะเป็นนมที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ อย่างการฆ่าเชื่อหรือนำส่วนผสมบางอย่างออกไป แต่สำหรับนมสดนั้นจะเป็นน้ำนมที่รีดออกมาสดใหม่โดยยังไม่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนั้นสารอาหารในน้ำนมจะครบถ้วนและมีกลิ่นและรสชาติก็ยังหอมมันที่สุด เพียงแค่นมสดนั้นจะไม่สามารถเก็บไว้ได้นานเพราะมีจุลินทรีย์ที่ทำให้นมเสียได้เร็ว จึงต้องมีการนำไปฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการต่าง ๆ ก่อนค่ะ

2.นมพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurized  Milk)
นมพาสเจอร์ไรส์เป็นนมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่หมดอายุเร็วที่สุด แต่ก็มีคุณค่าทางอาหารและรสชาติหอมมันใกล้เคียงกับนมสด โดยมีการฆ่าเชื้อนี้จะทำลายจุลินทรีย์บางส่วนที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ไม่ได้ทำลายตัวที่ทำให้นมเน่าเสียได้ เพราะอย่างนี้นมพาสเจอร์ไรส์จึงต้องแช่เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาตลอดเวลา แถมอยู่ได้เต็มที่แค่ 7 -10 วัน

3.นมสเตอริไลส์ (Sterilized  Milk)
นมที่ผ่านกระบวรการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ทั้งชนิดที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้อาหารเน่าเสียถูกทำลายจนหมด นมที่ได้ก็จะเก็บไว้โดยไม่ต้องแช่เย็นได้ถึง 1 ปี และมักจะบรรจุในกระป๋องอลูมิเนียมที่ปิดสนิท นมสเตอริไลส์จึงไม่เหมาะกับเด็กที่อยู่ในวัยกำลังโตเพราะอาจจะได้วิตามินและสารอาหารไม่ครบถ้วน

4.นมยูเอชที (UHT, Utra High Temperature Milk)
มาถึงนมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื่อด้วยความร้อนรูปแบบสุดท้ายหรือนมยูเอชที (UHT) ที่ย่อมาจาก Ultra-High-Temperature Short Time  หมายถึงการใช้ความร้อนที่สูงมากในระยะเวลาสั้น ๆ โดยเป็นการใช้อุณหภูมิที่สูงถึง 135-150 เพียง 2-4 วินาทีเท่านั้น เป็นกระบวนการที่กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ออกไปได้เกือบทั้งหมดแต่ก็แทบไม่ได้เสียวิตามินออกไป มักจะอยู่ในรูปแบบกล่องกระดาษขนาดกะทัดรัดพร้อมหลอดให้เจาะดื่มได้สะดวก ซึ่งจะเก็บได้โดยไม่ต้องแช่เย็นนาน 6-8 เดือน เป็นนมที่ดื่มง่าย เหมาะกับสมาชิกทุกคนบ้านยกเว้นเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี

5.นมไขมันต่ำหรือนมพร่องมันเนย (Low Fat Milk)
ไม่ว่าจะเป็นนมพร่องมันเนย นมไขมันต่ำ หรือนม Low fat ก็คือนมประเภทเดียวกันทั้งหมดค่ะ ซึ่งนมประเภทนี้จะถูกสกัดไขมันออกไปให้เหลือไม่เกิน 15% แต่สารอาหารชนิดอื่น ๆ ก็ยังคงอยู่ เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาไขมันในเส้นเลือดสูง รวมทั้งผู้ที่อยากควบคลุมพลังงานในแต่ละวันด้วย แต่ไม่เหมาะกับเด็กที่กำลังโตและต้องการพลังงาน

6.นมขาดมันเนย (Skim Milk ,Non-Fat Milk)
นมขาดมันเนยหรือนม Non-Fat จะเป็นนมที่ถูกสกัดไขมันออกไปจนเกือบหมดเหลือเพียง 0.15% เท่านั้น ส่วนสารอาหารที่ยังคงอยู่ก็จะเป็นพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต วิตามินที่อยู่ในไขมันจะอยู่ไม่มาก นมขาดมันเนยจึงเหมาะกับผู้ที่ร่างกายมีปัญหาเรื่องไขมันจริง ๆ เท่านั้น ถ้าสำหรับเด็ก ๆ และผู้ที่ร่างกายแข็งแรงปกติ การดื่มนมประเภทอื่นจะทำให้ร่างกายได้คุณประโยชน์และสารอาหารที่จำเป็นมากกว่า เพราะไขมันจากนมนั้นเป็นไขมันที่ให้ประโยชน์และยังอยู่ในปริมาณที่พอดีกับความจำเป็นของร่างกายในแต่ละวันด้วย

7.นมเปรี้ยว (Fermented Milk)
นมเปรี้ยวเป็นนมที่มีรสชาติต่างจากนมประเภทอื่นมากที่สุดเลยค่ะ นั่นเป็นเพราะกระบวนการเติมแบคทีเรียที่ช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานได้เป็นปกติ จากนั้นก็ได้มีการนำไปหมักต่อเพื่อเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ นมสดธรรมดาจึงกลายมาเป็นนมที่มีรสเปรี้ยวอย่างที่เห็น น้ำตาลในนมก็จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นกรด นมเปรี้ยวจึงเป็นนมอีกประเภทที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการย่อยน้ำตาลในนมอีกด้วย

8.นมผง (Dried Milk ,Powder Milk)
นมผงนั้นก็คือการนำนมสดมาระเหยน้ำออกไปจนหมดเท่านั้นเอง ส่วนสารอาหารต่าง ๆ ก็ถือว่าแทบไม่ได้สูญเสียไปเลย มีเพียงวิตามินบางตัวเท่านั้นที่อาจหายไป กลิ่นและรสชาติของนมก็เปลี่ยนไปเพียงนิดเดียว ซึ่งข้อดีของนมผงคือการเก็บรักษาที่ง่ายและมีอายุยาวนาน โดยนมผงนั้นอยู่ได้นานถึง 1 ปีครึ่งเลยค่ะ ถ้าหากเปิดแล้วเก็บไว้ในซองปิดสนิทโดยไม่เจอความชื้น แต่ถ้าหากมีการเปิดและเทแบ่งใส่ภาชนะอื่นก็จะอยู่ได้นาน 3 เดือน ส่วนนมผงที่นำไปผสมน้ำชงเรียบร้อยแล้วก็ควรดื่มภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับคุณค่าทางอาหารมากที่สุด แต่ถ้าหากมีความจำเป็นก็สามารถแช่เย็นเอาไว้ได้ 24 ชั่วโมง

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball