ประโยชน์ของตะไคร้

 

เมื่อพูดถึงตะไคร้หลายท่านคงรู้จักพืชชนิดนี้เป็นอย่างดี และส่วนใหญ่เรานิยมนำตะไคร้มาประกอบในเมนูอาหารเพื่อใช้ประโยชน์จากกลิ่นของเจ้าตะไคร้ เช่น นำมาลดกลิ่นคาว หรือใส่ในต้มยำ หรือทำเครื่องแกงต่าง ๆ แต่นอกเหนือจากประโยชน์ที่กล่าวมาแล้วตะไคร้ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยรู้ก็ได้ วันนี้จะพาทุกคนมารู้จัก ประโยชน์ของตะไคร้ มากขึ้นและรับรองเลยว่าคุณจะหลงรักตะไคร้มากกว่าเดิมแน่นอน

ประโยชน์ของตะไคร้
– ลำต้นและใบของตะไคร้ใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารสำหรับดับกลิ่นคาว ช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอม และปรับปรุงรสให้น่ารับประทานมากขึ้น
– ลำต้นและใบของตะไคร้ใช้เป็นส่วนผสมของยาทากันยุง สเปรย์กันยุง และยาจุดกันยุง
– ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม
– ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับทำสบู่ แชมพูสระผม
– ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง
– ใช้ทานวด แก้ปวดเมื่อย
– ใช้ทาลำตัว แขน ขา เพื่อป้องกัน และไล่ยุง
– ใช้เป็นส่วนผสมของสารป้องกัน และกำจัดแมลง
– ช่วยบรรเทา และรักษาอาการไข้หวัด
– แก้ไอ และช่วยขับเสมหะ
– บรรเทาอาการโรคหืดหอบ
– รักษาอาการปวดท้อง
– ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะยาก
– ช่วยขับเหงื่อ
– ช่วยในการขับลม
– แก้อหิวาตกโรค
– บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
– ช่วยลดความดัน โลหิตสูง
– ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
– แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
– ใช้เป็นยาแก้ไขปวดท้อง และท้องเสีย
– ช่วยขับปัสสาวะ

– ออกฤทธิ์ต้านเชื้อรา
– ช่วยกำจัดเซลลูไลท์
– ช่วยในการขับถ่าย
– บรรเทาอาการท้องเสีย
– ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง จากฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับลม
– ช่วยขับน้ำดี
– ระงับอาการปวด
– ต้านอาการอักเสบ และลดการติดเชื้อ
– กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
– ลดอาการซึมเศร้า
– ต้านอนุมูลอิสระ

ประโยชน์ของตะไคร้ เกินคาดเลยใช่มะ !!

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ( 100 กรัม)
• พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน 1.2 กรัม
• ไขมัน 2.1 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม
• เส้นใย 4.2 กรัม
• แคลเซียม 35 มิลลิกรัม
• ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
• เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม
• วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม
• ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม
• ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
• ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม
• วิตามินซี 1 มิลลิกรัม
• เถ้า 1.4 กรัม

สาระสำคัญที่พบในต้นและใบของตะไคร้ ดังนี้
– ซิทราล (Citral) พบมากที่สุด 75-90%
– ทรานซ์ ไอโซซิทราล (Trans-isocitral)
– ไลโมเนน (Limonene)
– ยูจีนอล (Eugenol)
– ลินาลูล (Linalool)
– เจอรานิออล (Geraniol)
– คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ (Caryophyllene oxide)
– เจอรานิล อะซิเตท (Geranyl acetate)
– 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน (6-Methyl 5-hepten-2-one)
– 4-โนนาโนน (4-Nonanone)
– เมทิลเฮพทีโนน (Methyl heptennone)
– ซิโทรเนลลอล (Citronellol)
– ไมร์ซีน (Myrcene)
– การบูร (Camphor)

เป็นอย่างไรบ้างเมื่อได้อ่านถึง ประโยชน์ของตะไคร้ ที่ไม่ธรรมด แล้วนอกจากจะได้รู้จักกับตะไคร้มากขึ้นแล้วคุณคงจะหลงรักเจ้าตะไคร้มากขึ้นเช่นกัน เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเตรียมเคลียร์พื้นที่ข้างบ้านเพื่อปลูกตะไคร้กันเถอะ

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball