พลูคาว คาวตอง

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังน่าเป็นห่วงในประเทศไทย รวมถึงมาตรการภาครัฐ ที่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลมากสักเท่าไรนัก ประกอบกับวัคซีนที่มาไม่ทันกาล ทำให้ประชาชนเริ่มจะต้องขวนขวายหายทางรอดเอาเอง ด้วยการหายา สมุนไพร พืชผัก ที่พอจะมีผลในการต่อสู้กับไวรัส และ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อหวังว่า จะช่วยได้ไม่มากก็น้อย และไม่นานมานี้ ชื่อของ ผักพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ก็ถูกพูดถึงกันเป็นอย่างมากบนโลกออนไลน์ คือ พลูคาว คาวตอง ที่ว่ากันว่ามีสรรพคุณในการช่วยต้านไวรัส และ เสริมภูมิคุ้มกันได้ดี วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับสรรพคุณของ พลูคาว คาวตอง ว่ามันคืออะไร ใช้อย่างไร และ มีสรรพคุณดี ๆ อะไรบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่า

สมุนไพร 8 ชนิด ที่ผู้หญิงควรรับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดี

พลูคาว คาวตอง คืออะไร

พลูคาว คาวตอง

พลูคาว คาวตอง เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือและอีสาน มีกลิ่นคาวทั้งใบและต้น รสชาติคาว ขื่น เผ็ดร้อน พลูคาวจัดเป็นพืชในวงศ์ Saururaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia cordata Thunb. ลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 เซนติเมตร ลำต้นกลม รากแตกออกตามข้อ

ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น ออกดอกสีขาวเป็นช่อที่ปลายยอด มีกลีบดอก 4 ใบ โดยทั่วไปจะออกดอกเล็กจำนวนมาก ส่วนผล เป็นผลแห้ง แตกออกได้ ข้างในมีเมล็ดรี ๆ

สรรพคุณของ พลูคาว คาวตอง 65 ข้อ

พลูคาว คาวตอง

  1. มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  2. มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
  4. มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
  5. ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
  6. ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
  7. ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
  8. ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
  9. ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
  10. ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
  11. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
  12. ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
  13. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
  14. คาวตองมีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
  15. มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
  16. ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  17. ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  18. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
  19. ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  20. ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
  21. ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
  22. ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  23. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
  24. ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
  25. รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
  26. ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
  27. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
  28. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
  29. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  30. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
  31. ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
  32. ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
  33. ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
  34. ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
  35. ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  36. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  37. ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
  38. ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  39. ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  40. ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
  41. ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
  42. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (ต้นสด, ใบ)
  43. ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
  44. มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
  45. ช่วยห้ามเลือด
  46. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่าง ๆ
  47. ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
  48. ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
  49. ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
  50. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
  51. ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
  52. ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  53. ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
  54. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
  55. ประโยชน์ของพลูคาวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
  56. แก้โรคน้ำกัดเท้า
  57. ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
  58. ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
  59. ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
  60. ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
  61. ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
  62. เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
  63. เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด
  64. ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
  65. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก

แล้วเราควรใช้อย่างไร

พลูคาว คาวตอง

สมุนไพร

เนื่องจากพลูคาวเป็นผักพื้นบ้าน จึงนิยมกินสด ๆ ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยของพลูคาวโดยตรง หรือจะกินตามตำรับยาสมุนไพรไทย-จีน ก็ได้ โดยใช้ต้นพลูคาวแห้ง 15-30 กรัม ต้มกับน้ำ แล้วกรองดื่มเป็นชา

ส่วนการรับประทานพลูคาวสกัด หรือคาวตองสกัดในรูปแบบแคปซูลหรือในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ควรดูวิธีการสกัดพลูคาวหรือคาวตอง รวมไปถึงปริมาณสารสำคัญของพลูคาวในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้ดี เนื่องจากการศึกษาวิจัยแต่ละการศึกษา อาจจะใช้วิธีการสกัดของพลูคาวที่แตกต่างกันออกไป

ทั้งนี้ ก่อนจะกินสมุนไพรเพื่อรักษาโรคหรือเสริมสุขภาพก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว หรือกินยาบางอย่างเป็นประจำ เพราะพลูคาวมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ซึ่งอาจไปกระทบกับการทำงานของยาบางตัวที่กินอยู่ได้

มีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร

ปกติแล้วหากรับประทานพลูคาว หรือผักคาวตอง ในรูปแบบอาหาร มักจะไม่มีผลข้างเคียงที่น่าเป็นห่วง เพราะปริมาณในการกินพลูคาวจะไม่ค่อยมาก และการกินอาหารแต่ละครั้งเราก็จะกินอาหารที่หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้พลูคาวทั้งแบบรับประทานและใช้เป็นยาภายนอก ก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ในบางคน ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
  • ในกรณีใช้ภายนอก ก็อาจมีอาการแพ้ที่ผิวหนัง หรือมีแผลพอง
  • เสี่ยงนิ่วในไตเพิ่มขึ้น หรือคนป่วยโรคไตก็อาจไตวายเฉียบพลันได้ เพราะออกซาเลตในใบพลูคาวอาจตกค้างในร่างกาย ในกรณีที่กินมากเกินไป

เป็นอย่างไรบ้างกับสรรพคุณของ พูลคาว คาวตอง ที่เราเอามาฝากกันในบทความนี้ จะมีผลช่วยเรื่องโควิด-19 ยังไงบ้าง ก็คงต้องลองทดสอบกันดู อย่างไรก็ตาม ควรกินอย่างระมัดระวัง และศึกษาให้ดีก่อนรับประทาน และระวังผลข้างเคียงด้วยนะ


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball