ตะไคร้

เมื่อพูดถึง ตะไคร้ ผู้อ่านหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดีเป็นพืชขึ้นกันเป็นกอ เรานิยมนำละต้นและใบของตะไคร้มาใช้ประโยชน์ เพราะตะไคร้มีประโยชน์หลากหลายและบ้านเรานิยมนำตะไคร้มาทำอาหารเพื่อดับกลิ่น หรือใช้กลิ่นตะไคร้ให้เป็นประโยชน์สำหรับอาหาร เช่นนำตะไคร้มาทำต้มยำ หรือนำตะไคร้มาใส่ในท้องปลาเพื่อลดกลิ่นคาวเมื่อเราย่างปลา หรือนำตะไคร้มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยสำหรับผ่อนคลาย และกลิ่นของตะไคร้เองไม่ได้มีดีแต่กลิ่นที่หอมเท่านั้นกลิ่นของตะไคร้เองสามารถไล่ยุงได้เช่นกัน เมื่อกล่าวถึงขนาดนี้แล้วผู้อ่านหลายท่านคงอยากจะรู้จักกับเจ้าตะไคร้มากกว่าเดิมแล้วสิน วันนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับตะไคร้ให้มากขึ้นและรับรองเลยว่าคุณจะตกหลุมรักเจ้าตะไคร้มากกว่าเดิมแน่นอน

ตะไคร้ (Lemon Grass) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus (DC) จัดเป็นพืชผักสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหารสำหรับดับกลิ่นคาว และช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร ในหลากหลายเมนู โดยเฉพาะอาหารประเภทต้มยำ และแกงต่างๆ รวมถึงการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ น้ำตะไคร้ ผงตะไคร้ เป็นต้น
ตะไคร้ เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของตะไคร้

ลำต้น ลำต้นตะไคร้มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร

ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ
ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ

ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร

ดอก ตะไคร้เป็นพืชที่ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ดอกจะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

ตะไคร้ กับการถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย

วันนี้ 15 ก.ค. 2563 นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ เข้ายื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีผ่าน นายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่เห็นด้วยกับประกาศให้ให้พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ซึ่งมีรายชื่อ ตะไคร้ รวมอยู่ด้วย และ ขึ้นทะเบียนตะไคร้เป็นวัตถุอันตราย ไม่ว่าเป็นประเภทที่ 1 หรือ 2 ก็ตาม เพราะพืชสมุนไพรไม่ใช่วัตถุ และเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาแต่โบราณกาลใช้ในการประกอบอาหารนานาชนิด และมีผลในการรักษาโรคแผนโบราณ

ล่าสุดแหล่งข่าวจากกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ไม่ได้ให้ สมุนไพรทั้ง 13 ชนิด รวมทั้ง “ตะไคร้หอม” จัดอยู่ในประเภทวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 มีแต่สารชีวภัณฑ์ที่สกัดมาทำเชิงการค้า มาผสมสารตัวอื่นๆ ที่ต้องอยู่ประเภท 2 เพราะต้องควบคุมว่า ที่สกัดออกมา และเอามาผสมสารตัวอื่น มันปลอดภัยไหม ใช้ได้ไหม ในข่าวก็มีให้เห็นว่า สารชีวภัณฑ์ยัง ใส่พาราควอต ไกลโฟเซต เลยนี่แหละถึงต้องควบคุม ไม่งั้นเกษตรกรโดนหลอกแล้วนี้ยังมาหลอก เรื่องสมุนไพรอีก เพราะ ต้องการให้สารชีวภัณฑ์ ไปอยู่ประเภท1 ไม่ต้องขึ้นทะเบียน เรียกว่า “โดนหลอก” ทั้งประเทศ

สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



Tagged:
ball