อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ถึงจะมีมาตรการล็อคดาวต่าง ๆ จำนวนผู้ติดเชื้อ และ ผู้เสียชีวิต ยังไม่มีท่าทีจะถดถอยลดน้อยลงเลยแม้แต่น้อย โควิด-19 เป็นไวรัสที่แพร่กระจาย และ ติดต่อได้ง่าย การติดจึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวมากเท่าไร แต่การติดแล้วเชื้อลงไปที่ปอดนั้นแตกต่างกัน เพราะสาเหตุของการเสียชีวิตจากการติดโควิดนั้น มาจากเชื้อลงปอดแทบทั้งนั้น เพราะงั้นมันจะดีกว่า ถ้าเรารู้ว่า อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง จะได้รู้ตัวเร็ว และ สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ว่าแล้วเรามาดูกันดีกว่าว่า วิธีสังเกตุอาการโควิดเมื่อ “เชื้อลงปอด” จะมีลักษณะอย่างไร

วิธีอยู่กับผู้ป่วยโควิด การดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโควิด-19 

อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง

อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง

ผู้ติดเชื้อโควิดแต่ละคนจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ภูมิคุ้มกัน และโรคประจำตัว บางคนไม่มีอาการเลย รักษาด้วยการแค่กักตัว พักผ่อน หรืออาจจะทานยา อย่างแค่ยาพาราเซตามอล ก็สามารถหายดีได้ แต่ที่สำคัญคือต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากมีอาการรุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที และนี่คือ วิธีการสังเกตอาการ ว่า “เชื้อลงปอด” แล้วหรือยัง

  • มีอาการไข้ โดยวัดอุณหภูมิแล้วพบว่าสูงกว่า 37.5 องศาขึ้นไป
  • มีอาการไอ ทั้งไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ ก็อาจเป็นสัญญาณสำคัญว่าปอดของเราอาจเริ่มอักเสบแล้ว
  • หายใจได้ไม่เต็มปอด เหนื่อย หอบ แน่นหน้าอก อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ชี้ว่าเชื้อเริ่มลงปอดแล้ว

ซึ่งเราสามารถทดสอบได้ด้วยการกระทำต่อไปนี้

การทดสอบอาการเหนื่อยมีวิธีที่เรียกว่า Sit-to-Stand Test ครับ คือการให้นั่งเก้าอี้ และลุกนั่งต่อเนื่องหนึ่งนาที โดยไม่จับเก้าอี้  เพื่อสังเกตอาการ คนที่ไม่ควรทดสอบวิธีนี้คือ ผู้สูงอายุ หรือคนที่ทรงตัวไม่ดี คนที่มีไข้สูง คนที่มีชีพจรช้าหรือเร็วผิดปกติ มีความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไป

ในการลุกนั่งควรได้สัก 20-30 ครั้งต่อนาที  หากระหว่างลุกนั่ง เกิดอาการเหนื่อยอย่างมาก หรืออาการอื่นที่ผิดปกติ ต้องหยุดทำทันที ไม่ต้องทำต่อจนครบ 20 ครั้งหลายๆ คนทำแล้วอาจจะรู้สึกเหนื่อย แต่ก็ไม่ได้เป็นการบอกอย่างชัดเจนว่าเชื้อลงปอดแล้ว วิธีนี้จึงจำเป็นต้องมีเครื่องวัดออกซิเจนเพื่อดูอาการด้วย

การที่เชื้อลงปอดอาจส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดของเราลดลง จึงต้องใช้อุปกรณ์คือ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด สำหรับหนีบที่ปลายนิ้ว หรือแบบนาฬิกา เพื่อวัดค่าออกซิเจน ค่าออกซิเจนโดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 96-100% แต่ถ้าหากน้อยกว่า 95% อาจเป็นสัญญาณของเชื้อลงปอด

ถ้าหากไม่มีเครื่องวัดออกซิเจน อาจจะใช้วิธีจับชีพจร ถ้าเกิน 120 ครั้งต่อนาที หายใจเหนื่อยหอบมาก พูดเป็นคำไม่ได้ แสดงว่าปอดอาจจะมีปัญหา หากเกิดอาการนี้แนะนำให้รีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลให้ได้เร็วที่สุด

ความหวังสยบเดลต้า !! ทำความรู้จัก วัคซีนโควิด mRNA คืออะไร และมียี่ห้อไหนบ้าง


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball