โรคติดสื่อสังคมออนไลน์

ปัจจุบันโลกของเรานั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของหลายคน และโทรศัพท์มือถือนั้นก็สามารถเข้าสู่โลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย หลายคนมักจะเข้าไปอยู่ในโซเชียลซึ่งโซเชียลนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกเพศ ทุกวัย และยากต่อการควบคุมดูแล และมีหลายคนสามารถสร้างรายได้ได้จากช่องทางนี้อีกด้วย ในขณะเดียวกันก็มีบางคนที่อาจจะต้องเจอเรื่องร้ายๆ หรือทำให้หมดอนาคตจากโซเชียลอีกด้วย วันนี้ถึงจะพาทุกคนมารู้จักกับ โรคติดสื่อสังคมออนไลน์ หากคุณเล่นโซเชียลมากเกินไปให้ระวัง 5 โรคนี้จะมีโรคอะไรบ้างมาดูกันเลย

โรคติดสื่อสังคมออนไลน์ มีโรคอะไรบ้าง ?

1.ซึมเศร้า

สำหรับโรคแรกของคนที่ติดโซเชียลมากเกินไปคือโรคซึมเศร้าจาก Facebook ซึ่งคนรุ่นใหม่ในยุคนี้หลายคนมักจะใช้ช่องทาง Facebook ในการระบายความรู้สึกโพสต์หรือแชร์สิ่งต่างๆบางครั้งการโพสต์หรือแชร์สิ่งต่างๆที่ไม่ดีมากนัก เช่น การโพสต์ที่อยู่ของตัวเอง การด่าคนอื่นลงโซเชียลก็เป็นภัยร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเองได้เหมือนกัน

2.ละเมอ

สำหรับรูปต่อมาก็คือโรคละเมอแชทเป็นอาการติดแชททางโทรศัพท์มือถืออยู่มากๆเมื่อถึงเวลาเราพักผ่อนเรามักจะระแวงว่าจะมีใครทักแชทมาหรือไม่จนทำให้เรานอนหลับไม่เพียงพอเพราะต้องหลับหลับตื่นตื่นค่อยเช็คแชทของตัวเองอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

3.โนโมโฟเบีย (Nomophobia)

อาการโนโมโฟเบียนั้นคืออาการกลัวการไม่มีมือถือใช้ไม่มีโซเชียลไม่มีอินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นหรืออัพเดทข้อมูลหรือติดตามข้อมูลจากคนอื่นอื่น กลัวการตัดขาดจากโซเชียลนั่นเอง

4.วุ้นตาเสื่อม

โรควุ้นในตาเสื่อมคนที่เป็นโรคนี้เมื่อมองไปยังแสงที่สว่างมากๆจะรู้สึกเหมือนมีคราบดำดำคล้ายหยากไย่อยู่ในตาตลอดเวลานั่นเองหากใครเริ่มมีอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบแพทย์ห้ามปล่อยไว้เด็ดขาดเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้นั่นเอง

5.สมาร์ตโฟนเฟซ (Smartphone Face)

เรื่องสุดท้ายคือโรคสมาร์ทโฟนเฟสคนที่มีอาการสมาร์ทโฟนเฟสคือเกิดจากการที่ก้มมองหน้าจอมือถือมากจนเกินไปในลักษณะท่าทางเดิมๆเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าปวดเมื่อยที่บริเวณคอลามไปถึงหัวไหล่นั่นเอง

เป็นอย่างไรบ้างกับ 5 โรคที่ต้องระวังหากคุณติดโซเชียลมากจนเกินไป หากรู้แบบนี้แล้วก็ควรจะหาเวลาออกจากโซเชียลและไปทำกิจกรรมอื่นๆ บ้างก็คงจะดีนะ และหากใครที่มีอาการหนึ่งในห้านี้ก็ควรจะรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองและขอเป็นกำลังใจให้คุณสามารถผ่านช่วงปรับพฤติกรรมไปได้อย่างง่ายดายนะ หากคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์สามารถแชร์ต่อให้เพื่อนของคุณได้เลย


สามารถรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : คลิกที่นี่

อ้างอิง : คลิกที่นี่

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball