หัวใจ 3 ดวง ใน TCAS คืออะไร

ทปอ.ก็ได้ประกาศผลการคัดเลือก TCAS66 รอบ 1 Portfolio ผ่านเว็บไซต์ mytcas.com  เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับเปิดระบบให้คนที่ผ่านการคัดเลือกได้จัดการสิทธิ์กันด้วยเช่นกัน สำหรับจัดการสิทธิ์ จะมีเพียง 2 ทางเลือก คือ “ยืนยันสิทธิ์” ซึ่งจะเลือกยืนยันได้แค่ 1 สาขาวิชาเท่านั้น และจะไม่สามารถไปสมัครรอบถัดไปได้อีก และ “ไม่ใช้สิทธิ์”  หรือไม่ต้องการที่จะเข้าไปเรียนในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่ผ่านการคัดเลือก สำหรับใครที่สงสัยว่า ถ้าเปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมาในระบบ mytcas จะทำได้ไหม บอกเลยว่า ได้แต่จะระบบจะอนุญาตให้เปลี่ยนใจได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เท่านั้น โดยทปอ. จะแทนสัญลักษณ์จำนวนครั้งด้วยรูปหัวใจ และในบทความนี้มาไขข้อสงสัยว่า หัวใจ 3 ดวง ใน TCAS คืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไร

วิธีเปลี่ยนประกันสังคม 2567 ทำยัง ใครทำได้บ้าง ที่นี่มีคำตอบ

หัวใจ 3 ดวง ใน TCAS คืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

ทปอ. ใช้สัญลักษณ์ “หัวใจ” แทนจำนวนครั้งในการตัดสินใจต่างๆ ในระบบ mytcas เพื่อบ่งบอกสถานะของน้อง ๆ ว่า ใช้สิทธิ์ไปเท่าไหร่ และจะยังเหลือสิทธิ์อีกที่ครั้ง

น้อง ๆ จะพบหัวใจแบบนี้  ในขั้นตอนดำเนินการต่างๆ เช่น การเปลี่ยนข้อมูลการสมัคร A-Level, การจัดการสิทธิ์ TCAS แต่ละรอบ  (ยืนยันสิทธิ์-ไม่ใช้สิทธิ์), การสละสิทธิ์ TCAS แต่ละรอบ, การสมัครรอบ 3 Admission เป็นต้น  ซึ่งจะปรากฏครั้งละ 3 ดวง  ยกเว้นการสละสิทธิ์ จะมีแค่ 1 ดวงเท่านั้น

เงื่อนไขของหัวใจ

  • ระบบจะตัดหัวใจออกทีละ 1 ดวง เมื่อยืนยันการทำรายการต่าง ๆ ด้วยการใส่รหัสผ่าน OTP
  • เมื่อใช้หัวใจไปจนหมด หรือครบ 3 ดวงแล้ว ระบบจะยึดข้อมูลที่ทำรายการจากการใส่ OTP ครั้งล่าสุดเป็นสำคัญ หรือพูดง่ายๆ ว่า ผลที่ออกมาจะเป็นไปตามครั้งสุดท้ายก่อนหัวใจหมดนั่นเอง
  • หัวใจ 3 ดวง จะถูกรีเซ็ตใหม่ทุกๆ  รอบ  เช่น หัวใจในการสมัคร A-Level ก็จะไม่เท่ากับหัวใจในการจัดการสิทธิ์ รอบ Portfolio เป็นต้น
  • เมื่อใช้สิทธิ์ไปแล้ว 1 ครั้ง หัวใจจะลดไป 1 ดวง
  • เมื่อใช้สิทธิ์ครบ 3 ครั้ง หัวใจจะหมดไป

สำหรับการจัดการสิทธิ์ รอบ Portfolio ระหว่างวันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ นี้ น้อง ๆ แต่ละคนที่ผ่านการคัดเลือก ก็จะได้รับหัวใจ คนละ 3 ดวง เช่นกัน และเมื่อเลือกยืนยันสิทธิ์ หรือเลือกไม่ใช้สิทธิ์ สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง พร้อมกับใส่รหัสผ่าน OTP ก็จะเท่ากับว่าใช้หัวใจไป 1 ดวง ทันที หากต้องการเปลี่ยนใจก็ยังสามารถแก้ไขได้อีก 2 ครั้ง แต่อย่าลืมว่า ต้องทำภายใน 23.59 น. ของ 7 กุมภาพันธ์ เท่านั้น

หัวใจ 3 ดวง ใน TCAS คืออะไร

รู้ยัง? ยืนยันสิทธิ์ – ไม่ใช้สิทธิ์ใน myTCAS เปลี่ยนใจได้ 3 ครั้ง

เมื่อเข้าระบบ myTCAS สำหรับจัดการสิทธิ์ในวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว น้อง ๆ จะมีเพียง 2 ทางเลือก คือ “ยืนยันสิทธิ์” ซึ่งจะเลือกยืนยันได้แค่ 1 สาขาวิชาเท่านั้น และจะไม่สามารถไปสมัครรอบถัดไปได้อีก และ “ไม่ใช้สิทธิ์”  หรือไม่ต้องการที่จะเข้าไปเรียนในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่ผ่านการคัดเลือก

โดยระหว่างที่ระบบ myTCAS เปิดอยู่นั้น (2 วัน) น้อง ๆ ทุกคนจะมีโอกาสในการตัดสินใจทั้งหมด 3 ครั้ง สามารถเปลี่ยนแปลงการจัดการสิทธิ์ได้ตามต้องการ  ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้ 3 กรณี ดังนี้

  • เปลี่ยนสาขาวิชา/มหาวิทยาลัย ที่จะยืนยันสิทธิ์ กรณีที่ผ่านการคัดเลือกหลายที่
  • เปลี่ยนจากยืนยันสิทธิ์ >> ไม่ใช้สิทธิ์
  • เปลี่ยนจากไม่ใช้สิทธิ์ >> ยืนยันสิทธิ์

ภายในหน้าระบบ myTCAS จะขึ้นเป็น “รูปหัวใจ” 3 ดวง เพื่อแจ้งจำนวนครั้งในการตัดสินใจ โดยเมื่อยืนยัน OTP  1 ครั้ง เท่ากับว่าได้ตัดสินใจแล้ว 1 ครั้ง หัวใจจะลดลงไป 1 ดวง

เมื่อหัวใจถูกใช้ไปหมด จนครบ 3 ดวงแล้ว (หรือระบบ myTCAS ปิด) ทปอ.จะยึดถือข้อมูลจากการยืนยัน OTP ครั้งสุดท้ายที่ได้ทำไปเป็นสำคัญ นั่นหมายความว่า ถ้าครั้งสุดท้ายเลือกอะไรไป จะเป็นยันยืนสิทธิ์ในสาขาวิชาไหน หรือเป็นไม่ใช้สิทธิ์ ทปอ.ก็จะนับเอาอันนั้นเลย

โดยสามารถตรวจสอบ “ประวัติการดำเนินการ” ของตัวเองได้ ซึ่งระบบจะชี้แจงละเอียดว่า การตัดสินใจแต่ละครั้งได้เลือกอะไรไปบ้าง เลือกไปเมื่อไหร่ เวลาไหน

ดังนั้นในการตัดสินใจครั้งที่ 3 นี้ จะต้องเลือกในสิ่งที่ต้องการ เพราะเมื่อตัดสินใจไปแล้ว หรือระบบปิดแล้ว จะไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลอะไรได้อีก โดยเฉพาะคนที่เลือก “ไม่ใช้สิทธิ์” ภายหลังจะไม่สามารถมาขอยืนยันสิทธิ์ในสาขาวิชาที่ผ่านการคัดเลือกไปไม่ได้ ส่วนคนที่ “ยืนยันสิทธิ์” ไป จะยังสามารถไปสละสิทธิ์ภายหลังได้ แต่นั่นก็จะมีเงื่อนไขรายละเอียดเพิ่มเติมอีก

สรุป หัวใจ 3 ดวง ใน TCAS คืออะไร โดย ทปอ.ได้ใช้สัญลักษณ์ “หัวใจ” แทนจำนวนครั้งในการตัดสินใจต่าง ๆ ในระบบ mytcas เพื่อบ่งบอกสถานะ โดยจะบ่งบอกว่าเราใช้สิทธิ์ไปเท่าไหร่ และจะยังเหลือสิทธิ์อีกที่ครั้ง สำหรับการจัดการสิทธิ์ รอบ Portfolio ระหว่างวันที่ 6 – 7 กุมภาพันธ์ นี้ น้อง ๆ แต่ละคนที่ผ่านการคัดเลือก ก็จะได้รับหัวใจ คนละ 3 ดวง นั้นเอง


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball