Blue Dragon

Blue Dragon หรือที่รู้จักในชื่ออื่น ๆ คือ มังกรสีฟ้า มังกรสีน้ำเงิน นกนางแอ่นทะเล หรือเทวดาสีฟ้า มังกรทะเลสีน้ำเงิน เป็นทากทะเลสายพันธุ์ทากทะเลสีสดใส มังกรทะเลสีน้ำเงินหรือทากทะเลสีน้ำเงิน มีลำตัวสีน้ำเงินสลับสีขาว จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นเดียวกับหอยและปลาหมึก มังกรทะเลสีน้ำเงินเป็นทากทะเลที่กินสัตว์ทะเลที่มีพิษเป็นอาหาร ทำให้มังกรทะเลสีน้ำเงินนี้มีสีสันสวยงาม ประกอบกับลักษณะของแขนขาที่มีรูปร่างพริ้วสยายคล้ายกับปีก เป็นที่มาของชื่อเล่นว่า มังกรสีน้ำเงิน และเจ้าบลูดราก้อนตัวนี้มีนิสัยดุร้าย พร้อมโจมตีเหยื่อเสมอ พิษของมันจะเข้าไปทำลายระบบประสาท และการทำงานของหัวใจกับเซลล์ผิวหนัง หากถูกต่อย จะรู้สึกแสบบริเวณที่ถูกต่อย

หมึกบลูริง รู้จักหมึกตัวร้าย พิษแรงกว่างูเห่า 20 เท่า พร้อมวิธีสังเกตุ

Blue Dragon สัตว์น้ำสุดน่ารักแต่มีพิษถึงตาย

เพจเฟซบุ๊ก ขยะมรสุม ᴍᴏɴsᴏᴏɴɢᴀʀʙᴀɢᴇ ᴛʜᴀɪʟᴀɴᴅ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า มังกรสีน้ำเงิน หรือ ทากเปลือย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เจ้าตัวนี้มันมีพิษร้ายแรง ต่างกับหน้าตาของมันอย่างสิ้นเชิง มังกรสีน้ำเงิน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลาวคัสแอดแลนติคัส (Glacus Atlanticus)

ซึ่งพิษของเจ้าบลูดราก้อนนี้ คือการที่มัน กินแมงกะพรุน Portuguese man o’war หรือแมงกะพรุนเรือรบโปรตุเกส แมงกะพรุนขวดเขียว ที่มีพิษร้ายแรง โดยเจ้าบลูดราก้อนจะนำเข็มพิษของแมงกะพรุนมาไว้ในตัว เพื่อป้องกัน หากมีคนไปจับหรือโดนมันเข้า ก็จะรู้สึกเจ็บปวด เหมือนโดนเข็มแทง แต่หากว่า โดนเข้าแล้ว ต้องใช้น้ำส้มสายชูเทราด แบบเดียวกับแมงกระพรุน และเจ้าบลูดราก้อนตัวนี้มีนิสัยดุร้าย พร้อมโจมตีเหยื่อเสมอ พิษของมันจะเข้าไปทำลายระบบประสาท และการทำงานของหัวใจกับเซลล์ผิวหนัง หากถูกต่อย จะรู้สึกแสบบริเวณที่ถูกต่อย และมีอาการคลื่นใส้ ปวดหัว ถ้าอาการรุนแรง สามารถเสียชีวิตได้เลย หากรับการรักษาไม่ทัน

Blue Dragon

ในวันที่ 31 ส.ค. 66 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้โพสต์ภาพ มังกรสีน้ำเงิน พร้อมระบุว่า กรมทะเลชายฝั่งลงพื้นที่บริเวณหาดกระรน จังหวัดภูเก็ต ตามที่ได้รับแจ้งจากสื่อออนไลน์ในการพบทากเปลือย (มังกรสีน้ำเงิน) แจ้งเตือนประชาชนห้ามสัมผัส  เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ลงพื้นที่บริเวณหาดกระรน จังหวัดภูเก็ต ตามที่ได้รับแจ้งจากสื่อออนไลน์ในการพบทากเปลือย (มังกรสีน้ำเงิน) จากการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าเป็นทากเปลือย (มังกรสีน้ำเงิน) ชนิด Glaucilla sp. ซึ่งจากการสำรวจพบได้ตลอดแนวชายหาดของหาดกะรน

ทั้งนี้ ยังพบแมงกะพรุนแว่นตาพระอินทร์ Porpita porpita (Linnaeus, 1758) และแมงกะพรุน Velella velella (Linnaeus, 1758) ซึ่งแมงกะพรุนดังกล่าวเป็นอาหารของทากเปลือย Blue dragon และยังไม่มีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาด รวมทั้งแจ้งเตือนประชาชนไม่ควรไปสัมผัสจับต้อง ซึ่งอาจได้รับอันตรายได้ ทั้งนี้ทางศูนย์วิจัยฯ จะติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์ดังกล่าวต่อไป”

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขอความร่วมมือจากประชาชน ช่วยกันดูแลรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น เพื่อป้องกันอันตรายจากB มังกรสีน้ำเงิน สัตว์ทะเลมีพิษร้ายแรง

  • ไม่ควรลงเล่นน้ำในบริเวณที่มี มังกรสีน้ำเงิน ลอยอยู่
  • หากนำอาหารทะเลมารับประทาน ควรตรวจสอบให้ดีว่าไม่มี มังกรสีน้ำเงิน ปนเปื้อนอยู่
  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันร่างกายจากการสัมผัสกับ มังกรสีน้ำเงิน เช่น ถุงมือ รองเท้าบูท
  • หากพบเห็น มังกรสีน้ำเงิน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

สรุป มังกรสีน้ำเงิน อยู่ตระกูลเดียวกับทาก เจ้ามังกรทะเลสีน้ำเงินสดนี้จึงถูกจัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง พบได้ตามมหาสมุทรและชายฝั่งน้ำอุ่นแถบออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และยุโรป มีรูปร่างคล้ายมังกรหกปีก พร้อมลายสีน้ำเงินสดสะดุดตา โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฝากเตือนพี่น้อง ประชาชน หากพบเห็นเจ้ามังกรน้ำเงิน ตัวนี้ ห้ามเข้าใกล้หรือสัมผัสเด็ดขาด เพราะมีพิษรุนแรงอย่างมาก


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball