Gaslighting คืออะไร

คุณกำลังเจอความสัมพันธ์แบบนี้อยู่หรือเปล่า ‘คิดมากไปไหม, คิดไปเองหรือเปล่า, ไม่เชื่อใจกันเลยเหรอ’ ประโยคเหล่านี้ มักพบเจอบ่อย ๆ ในคู่รัก ซึ่งหลาย ๆ คนคงจะคิดว่า ก็ไม่มีอะไรนี่ เป็นประโยคธรรมดาทั่วไป ที่ใคร ๆ ก็ใช้กัน แต่รู้หรือไม่ว่าประโยคเหล่านี้เป็นเหมือนกับ กับดักทางจิตวิทยา โดยที่คำเหล่านี้อาจจะทำให้คุณรู้สึกเชื่อว่าตนเองนั้นเป็นคนผิด นั่นทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจในความคิดของตัวคุณเอง และเชื่อว่าอีกฝ่ายพูดถูก โดยสิ่งนี้เรียกว่า Gaslighting หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้จักว่า Gaslighting คืออะไร วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ Gaslighting และรู้จักกับ 4 รูปแบบความสัมพันธ์ที่คุณต้องพึงระวังไว้ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านพร้อม ๆ กันเลย

ไม่อาบนํ้าตอนเช้าได้ไหม คลายสงสัยคนขี้เกียจ พร้อมประโยชน์ของการอาบน้ำเช้า

Gaslighting คืออะไร มาทำความรู้กันเลย

Gaslighting หลายต่อหลายครั้งที่ถูกหลอกอย่างแนบเนียน หลายต่อหลายครั้งที่ถูกชี้นำให้สงสัยว่าความคิดของตนนั้นยังปกติอยู่หรือไม่ ผลลัพธ์สุดท้ายคือการที่เธอสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์ ตกเป็นเหยื่อของทริคทางจิตใจนั้นอย่างไม่สามารถหลีกหนีได้พ้น โดย Gaslighting เป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางจิตใจ (psychological manipulation) ในความสัมพันธ์ด้วยการปลูกฝังเมล็ดพันธ์ของความแคลงใจ ความสงสัย และความไม่เชื่อมั่นในตนเองซึ่งพบได้ในทุกรูปแบบความสัมพันธ์ ไม่เพียงแต่เชิงโรแมนติกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงครอบครัว เพื่อน สังคมการศึกษา และสังคมการทำงานอีกด้วย (Petric, 2018)

Gaslighting คืออะไร

ประเภทของ Gaslighting มีอะไรบ้าง

1) ทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ (Trivializing)

ในทุกความสัมพันธ์ล้วนมีปัญหา ความไม่สบายใจ และมีเรื่องที่ต้องพูดคุยอยู่แล้ว บางทีหลายคนต้องรวบรวมความกล้าอย่างมากในการเปิดใจและเปิดบทสนทนาด้วยซ้ำ แต่การตอบคู่สนทนาด้วยคำพูดประเภท “อย่าทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ไหม” ทำให้ความกังวลของอีกฝ่ายดูไร้ค่าขึ้นมาทันที

  • ยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้เห็นภาพ

A รู้สึกว่า B แฟนหนุ่มของเธอคุยกันอย่างสนิทสนมเกินไปกับผู้หญิงที่พบกันในงานเลี้ยง เธอรู้สึกไม่สบายใจจึงบอกให้เขาทราบ

A: “เธอดูสนิทกับคนคนนั้นมากเลยนะ ฉันรู้สึกไม่ดีเลย มีอะไรที่ฉันไม่รู้หรือเปล่า”

B: “เธอคิดไปเองหรือเปล่า อย่ามาทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ไหม” [เดินหนี]

2) ทำให้เป็นฝ่ายผิด (Blame-shifting)

หากเราพูดถึงความผิดของผู้กระทำ มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะโทษว่าเรื่องนั้นเป็นความผิดของเรา ไม่ก็ ‘เป็นเพราะเรา’ เขาถึงทำเช่นนั้น เพื่อจะได้ไม่รับผิดชอบการกระทำของเขาเอง ยิ่งไปกว่านั้น หากเราโต้ตอบด้วยอารมณ์ เราก็จะถูกว่าเรื่องใช้อารมณ์อีก

  • ตัวอย่างคำพูดอื่นๆ ของการ Gaslighting ในรูปแบบนี้ได้แก่

– ฉันไม่ได้เป็นคนผิด เธอต่างหาก

– คุณต่างหากที่เป็นคนชวนทะเลาะ ไม่ใช่ผม

– เพราะคุณไม่มีเวลาให้ไง ฉันถึงไปมีคนอื่น

3) ไม่ยอมรับความจริง (Denying)

ผู้กระทำหลายคนมักจะปฏิเสธเพราะยอมรับความจริงไม่ได้ หากคิดภาพไม่ออก ลองจินตนาการถึงความสัมพันธ์นี้ดู

  • ภรรยาเป็นคนทำความสะอาดบ้านตลอดเพราะสามีไม่เคยคิดจะทำ ถ้าหากเธอไม่ทำ บ้านก็จะรกมากๆ วันหนึ่งเธอทนไม่ไหวจึงถามเขาว่าให้ช่วยทำงานบ้านเยอะขึ้นได้ไหม แต่เขากลับโมโห เริ่มพูดว่าเขาก็ช่วยตลอดและทำเยอะกว่าฝ่ายภรรยาด้วยซ้ำ บางครั้งอาจมีการพูดจาด้อยค่าการกระทำของอีกฝ่ายเพื่อเชิดชูการกระทำตัวเอง เช่น สิ่งที่ภรรยาทำก็แค่งานบ้าน เขาต่างหากที่หาเงินเลี้ยงครอบครัว

4) บิดเบือนความจริง (Twisting)

การบิดเบือนความจริงจนอีกฝ่ายสับสนในความเป็นจริงที่ตัวเองเผชิญ คือหนึ่งสิ่งที่ผู้กระทำใช้บ่อยๆ

  • ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันก่อนซาร่าเพิ่งทะเลาะกับมาร์ก แฟนหนุ่มของเธอ วันนี้พวกเขาทั้งคู่จึงคุยกันเพื่อปรับความเข้าใจ แต่มาร์กอ้างว่าที่เริ่มทะเลาะกันนั้นเพราะซาร่าขึ้นเสียงใส่เขาก่อน ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่เพราะมาร์กรับไม่ได้เลยบิดเบือนความจริง

สรุป Gaslighting เป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางจิตใจ ในความสัมพันธ์ด้วยการปลูกฝังเมล็ดพันธ์ของความแคลงใจ ความสงสัย และความไม่เชื่อมั่นในตนเอง และยังแบ่งออกได้ 4 ประเภท 1.ทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ (Trivializing) 2.ทำให้เป็นฝ่ายผิด (Blame-shifting) 3.ไม่ยอมรับความจริง (Denying) 3.ไม่ยอมรับความจริง (Denying)


ขอบคุณข้อมูลจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball