เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน
สำหรับครอบครัวคนไทย มักใช้ทะเบียนบ้านในการทำธุรกรรม ธุรกิจ รวมถึงสมัครงานต่าง ๆ กันอยู่แล้วใช่ไหมล่ะ แล้วคุณเคยสงสัยกันไหมว่า เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน ในทะเบียนบ้านนั้นต่างกันอย่างไร แน่นอนว่าหากคุณเจอบทความนี้ คุณก็คงกำลังสงสัยและเสิร์จหาข้อมูลอยู่ใช่ไหม ถึงมาเจอบทความนี้ แต่สำหรับใครที่หลงเข้ามา อาจจะด้วยเห็นพาดหัวแล้วเริ่มสงสัย หรืออยากหาความรู้รอบตัวไว้ แน่นอนว่าการที่คุณกดเข้ามาอ่านบทความนี้นั่นหมายความว่าคุณกำลังสงสัย และ หาคำตอบอยู่ไงล่ะ แน่นอนว่าคุณตัดสินจถูกแล้วที่เข้ามาอ่าน ถ้าอยากรู้แล้วว่าสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร ก็อ่านบทความด้านล่างนี้ดูได้เลย

พัสดุตกค้าง ทำยังไงดี สอนวิธีติดตามพัสดุตกค้าง ไม่อยากของหาย มาดู 

เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน มีความแตกต่างกันอย่างไร

เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน มีความแตกต่าง คืออำนาจการครอบครองตามที่กฎหมายกำหนดไว้คนละฉบับ “เจ้าบ้าน” จะเป็นผู้ครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือมิใช่เจ้าของเจ้าของบ้านก็ได้ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทะเบียนราษฎรเท่านั้น และมิได้ทำให้เกิดสิทธิในการครอบครอง “บ้าน” ตามกฎหมายอื่น ส่วน “เจ้าของบ้าน” เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้าของบ้าน ซึ่งกฎหมายการทะเบียนราษฎรไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นเจ้าบ้าน และการที่ให้บุคคลอื่นทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านก็มิได้ทำให้สิทธิการครอบครองบ้านเสียไป ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน สามารถให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้านแทนตนเองได้ นั่นเอง

  • เจ้าบ้าน

ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยในกรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้านหรือไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน

  • เจ้าของบ้าน

เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ปล่อยเช่า ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย

ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๔วรรคสี่ ได้บัญญัติว่า “การกำหนดเลขประจำบ้านตามวรรคหนึ่งและการจัดทำทะเบียนบ้านตามมาตรา ๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนผู้ใดจะอ้างการกำหนดเลขประจำบ้านหรือการจัดทำทะเบียนบ้านเพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้”

ดังนั้นผู้ใดจะอ้างการกำหนดเลขประจำบ้านหรือการจัดทำทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้ ซึ่ง “เจ้าบ้าน” ก็ได้ระบุไว้ในทะเบียนบ้านเพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อเจ้าของบ้านซึ่งมีกรรมสิทธิ์ได้ให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัย มาพักอาศัยในบ้านและย้ายทะเบียนบ้านมา ณ บ้านเลขที่นั้น โดยให้เป็น “เจ้าบ้าน” ท่านที่เป็น“เจ้าของบ้าน” อย่าตกใจว่า “เจ้าบ้าน” จะมีสิทธิเหนือท่าน ในกรรมสิทธิ์ของบ้าน เว้นแต่ “เจ้าบ้าน” จะแสดงออกมาว่าเจตนาจะยึดถือครอบครองบ้านเพื่อตน แล้วทำผิดสัญญาเช่า ให้รีบดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดี มิฉะนั้น “เจ้าบ้าน” อาจได้เป็น“เจ้าของบ้าน” ที่มีสิทธิดีกว่าก็ได้

สรุป ที่นี้ก็เข้าใจกันแล้วว่า เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน มีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นผู้ใดจะอ้างการจัดทำทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ได้ ต่อเมื่อเจ้าของบ้านซึ่งมีกรรมสิทธิ์ได้ให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัย มาพักอาศัยในบ้านและย้ายทะเบียนบ้านมา ณ บ้านเลขที่นั้น โดยให้เป็นเจ้าบ้านท่านที่เป็นเจ้าของบ้านอย่าตกใจว่าเจ้าบ้านจะมีสิทธิเหนือท่าน ในกรรมสิทธิ์ของบ้าน เว้นแต่เจ้าบ้านจะแสดงออกมาว่าเจตนาจะยึดถือครอบครองบ้านเพื่อตน แล้วทำผิดสัญญาเช่า ให้รีบดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดี


ขอบคุณเนื้อหาจาก : wikipedia

เป็นกำลังใจช่วยแชร์หน่อยค่ะ



ball